10 อาชีพดิจิทัลสุดฮอต กำลังเป็นที่ต้องการของธุรกิจปี 2021
แชร์บทความนี้ไปยัง ...
กลุ่มคนสายงานอะไร? ที่กำลังเป็นที่จับตามองและเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงาน คงหนีไม่พ้นสายงานกลุ่มเทคโนโลยีหรืองานดิจิทัลอย่างแน่นอน โดยสายงานดิจิทัลนี้มีส่วนสำคัญไม่แพ้กับสายงานอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อธุรกิจต้องปรับตัวและขับเคลื่อนด้วยความรวดเร็วให้ทันการเปลี่ยนแปลง และต้องใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจ หรือบางทีสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการได้มากขึ้นอีกก็เป็นได้ จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า ทำไมกลุ่มคนที่ทำงาน หรือหางานสายดิจิทัลนี้จะเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร
เรียกได้ว่าถ้าใครมีทักษะดิจิทัล มีความรู้และประสบการณ์ด้านดิจิทัลสกิลแล้ว จะมีโอกาสได้งานมากกว่าคนที่ไม่มีทักษะด้านดิจิทัลอย่างแน่นอน วันนี้เราจึงขอรวบรวม 10 งานดิจิทัลสุดฮอตที่น่าสนใจและจับตามอง มีงานอะไรบ้างและแต่ละงานทำอะไรกันบ้าง เผื่อเพื่อนๆ จะได้ไป Upskill & Reskill ได้ถูกทาง ไปดูกันเลย!
1. Security Professional งานดิจิทัลตำแหน่งนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบริษัท โดยต้องมีทักษะที่มีความเชี่ยวชาญสูงเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อองค์กร เช่นมัลแวร์ ไวรัสฟิชชิ่ง และการโจมตีแบบ Denial-of-service attacks (DDOS) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
2. Database Administration ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแล Database Server ให้ทำงานอย่างปกติด้วยอีกด้วย เรียกว่าต้องปลอดภัยให้มั่นใจสุดๆ ไปเลย ทำให้ตำแหน่งงานนี้ กำลังเป็นที่ต้องการของธุรกิจต่างๆเป็นอย่างมาก
3. Programmer Analyst อีกหนึ่งตำแหน่งงานดิจิทัลที่สำคัญ ที่จะต้องนำข้อมูลจากนักวิเคราะห์ระบบงาน (System Analyst) มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ โดยจะใช้ภาษาในการพัฒนาที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของระบบฐานข้อมูลหรือตามความต้องการ โดยจะต้องทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง
4.Network Administration ทำหน้าที่ดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยมักเกี่ยวข้องกับลักษณะงานหลักทางด้านเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น การติดตั้งระบบเครือข่าย การควบคุมสิทธิ์ของผู้ที่จะใช้งาน การป้องกันการบุกรุกเครือข่าย เป็นต้น
5. Software Developer เป็นตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เช่นในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงานอีกด้วย
6. Helpdesk & Desktop support Professionals ติดตั้งและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการให้ความรู้กับ user เพื่อให้สามารถใช้งานระบบ IT ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
7. Mobile Applications Developer คือ นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) จะเป็นผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะต้องอาศัยฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น กลุ่มลูกค้าเราเป็นคนกลุ่มไหน ชื่นชอบอะไร และมีพฤติกรมการใช้สมาร์ทโฟนอย่างไร เพื่อนำมาเป็นทิศทางในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น เสร็จแล้วจึงมาพัฒนาระบบการใช้งานให้โดนใจผู้ใช้มากที่สุด เป็นอาชีพที่โดดเด่นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะธุรกิจต่าง ๆ หันมาทำการตลาด และให้บริการบนแอพพลิเคชั่นมากขึ้น
8.Cloud Architect ทำหน้าที่ดูแลกลยุทธ์ด้านของ Cloud computing ของ บริษัท และรับผิดชอบในการปรับใช้จัดการและสนับสนุนแอปพลิเคชันระบบคลาวด์ โดยทั่วไปแล้วตำแหน่งนี้ต้องมีความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการหลายๆ ระบบเป็นอย่างสูง โดยนอกเหนือจากทักษะด้านเครือข่ายการเขียนโปรแกรมและความปลอดภัยแล้วต้องมีความรู้เกี่ยวกับบริการคลาวด์เช่น Amazon Web Services ตลอดจนต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับ ITSM, I&O, การกำกับดูแล, ระบบอัตโนมัติและการจัดการผู้ขาย เช่นกัน
9. Systems Analyst ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และศึกษาปัญหาความต้องการขององค์กร หรือของลูกค้าในเชิงซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนา ปรับปรุง รวมไปถึงการตรวจสอบ และตรวจวัดคุณภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด
10. DevOps Engineer ทำงานเกี่ยวข้องกับทั้งกระบวนการพัฒนาและการดำเนินงานของระบบ IT ร่วมงานกับนักพัฒนา นักทดสอบ นักดำเนินงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนา ทดสอบ ติดตั้ง/ส่งมอบ ดำเนินงานและซ่อมบำรุงระบบ เพื่อให้งานนั้นสามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ